วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา อำเภอเชียงของ

ความเป็นมา

ความเป็นมาของอำเภอเชียงของ เชียงของเคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยหิรัญนครเงินยาง(เชียงแสน) ชื่อ "ขรราช" ต่อมามีฐานะเป็นเมืองชื่อ "เมืองเชียงของ" ขึ้นอยู่ในความปกครองของ นันทบุรี (น่าน) โดยเจ้าครองนครน่านได้ตั้งให้เจ้า อริยวงค์ เป็นเจ้าเมืองเชียงของ เมื่อ ปี พ.ศ. 1805 และปกครองเมืองเชียงของสืบต่อมาจนถึงเจ้าเมืองคนสุดท้าย คือ พญาจิตวงษ์วรยศรังษี ปี พ.ศ. 2453 (รศ.129) และให้มีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดเชียงรายมาจนถึงปัจจุบัน โดยแต่งตั้ง พญาอริยวงษ์ (น้อย จิตตางกูร) เป็นนายอำเภอคนแรก ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2457 นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อำเภอเชียงของ มี นายอำเภอคนที่ 24 คือ นายศักดิ์ชัย จ.ผลิต ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 11 ธันวาคม 2544 จนถึงปัจจุบัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4.E0.B8.AD.E0.B8.B3.E0.B9.80.E0.B8.A0.E0.B8.AD.E0.B9.80.E0.B8.8A.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.87.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.87

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คำขวัญประจำอำเภอ

คำขวัญประจำอำเภอเชียงของ

หลวงพ่อเพชรคู่     ลือเลื่องปลาบึกหาดไคร้
แหล่งผ้าทอน้ำไหล     ประตูใหม่อินโดจีน  

ที่มา:http://chiangkhong.sadoodta.com/content/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87

แผนที่อำเภอเชียงของ

ที่มา:https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87&biw=1366&bih=667&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwi2nrqW--7KAhXKB44KHSVPAPcQsAQIGw&dpr=1#imgrc=LIe9XvFy5jaHnM%3A

ที่ตั้งและอาณาเขต

ที่ตั้งและอาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว)

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว) และอำเภอเวียงแก่น

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล อำเภอพญาเม็งราย และอำเภอเวียงเชียงรุ้ง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอดอยหลวงและอำเภอเชียงแสน
ข้อมูลที่ตั้ง
พื้นที่ 836.9 ตร.กม.

ประชากร 62,691 (พ.ศ.2557)

ความหนาแน่น 74.90 คน/ตร.กม.


ข้อมูลทั่วไป


อักษรไทย อำเภอเชียงของ

จังหวัดเชียงราย

รหัสไปรษณีย์ 57140


ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอเชียงของ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศพื้น
ที่ราบ สลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่หลายเชื้อชาติ เช่น ไตลื้อ ขมุ ชาวมูเซอ แม้ว เย้า โดยกลุ่มไทลื้อโดยมากจะอาศัยอยู่ที่ บ้านห้วยเม็ง และบ้านศรีดอนชัย อพยพมาจากทาง สิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีนปัจจุบันยึดอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เคยทำสวนส้มกันจนมีชื่อเสียงโด่งดังแต่ปัจจุบันด้วยโรคภัยเยอะชาวบ้านเลยเลิกทำสวนส้มไปหลายรายหันไปทำไร่ข้าวโพดเหมือนกับชาวบ้านใกล้เคียงแทน เชื้อชาติขมุตั้งอยู่ที่บ้านห้วยกอกเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีประชากรไม่มากนัก ประชากรในอำเภอเชียงของโดยส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ไร่ข้าวโพด สวนส้ม สวนลิ้นจี่ สวนส้มโอ และพืชผักต่างๆเป็นต้น


ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%
B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%
B8%AD%E0%B8%87

   สภาพภูมิอากาศ

อำเภอเชียงของมีพื้นที่ 837 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ได้ชัดเจนและสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. โดยติดต่อกรอกแบบฟอร์มขอผ่านแดนได้ที่ศูนย์อำนวนการรักษาความมั่นคงภายในบริเวณที่ว่าการอำเภอเชียงของได้ทุกวัน แค่เพียงเตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป และสำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 10 บาท นอกจากนี้ ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายนจะมีการจัดงานรื่นเริงและร้านค้าตามชายหาดริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นประจำทุกปี

ที่มา:http://www.chiangkhong.net/html/chaingkhong_city.html

         สภาพพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคม


จังหวัดเชียงรายมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดด เด่น มีประเพณี ภาษาท้องถิ่น ศิลปกรรม โบราณสถานที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชนเผ่าชาวเขากลุ่มต่าง ๆ ประชาชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัธยาศัยไมตรีดี อ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งศาสนา มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประชากรมีอัตราการเรียนต่อหลัง จบการศึกษาภาคบังคับอยู่ในระดับสูง มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล ภาคประชาสังคมและประชาชนมีการรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าเชียงรายมีแหล่งโบราณคดีมากถึง 200 แหล่งแต่ในปัจจุบันในบรรดาแหล่งโบราณคดีทั้งหลายของเชียงราย เมืองโบราณที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของล้านนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต คือ เมืองโบราณเชียงแสน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้เข้าไปทำการศึกษาจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อง นอกจากนี้เชียงรายยังมีแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่ควรทำการศึกษาอีกมากมายหลายแหล่ง เช่น เวียงหนองหล่ม อำเภอเชียงแสน เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า และดงเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น  ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงราย คือ ภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดถึงร้อยละ 32 ส่วนภาคการค้าส่งและค้าปลีกมีสัดส่วนร้อยละ 17 และภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 12


    การนับถือศาสนา

ชาวล้านนามีความผูกพันอยู่กับการนับถือผีซึ่งเชื่อว่ามีสิ่งเร้าลับให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้าป่าหรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า จะนิยมบอกกล่าวและขออนุญาตเจ้าที่-เจ้าทางอยู่เสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่าจะแบ่งอาหารบางส่วนให้เจ้าที่อีกด้วย เช่นกัน ซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตที่ยังคงผูกผันอยู่กับการนับถือผีสาง แบ่งประเภท ได้ดังนี้
ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี
ทั้งนี้ ชาวล้านนาจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือเป็ง (มกราคม) จนถึง 8 เหนือ (พฤษภาคม) เช่น ที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จะมีการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ซึ่งเป็นผีบรรพ บุรุษของชาวไทลื้อ พอหลังจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนเมือง ไม่นับรวมถึงการ เลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะของ ชาวลั๊วะ ซึ่งจะทยอยทำกันต่อจากนี้
ส่วนช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่าง ๆ อาจเป็นเพราะความเชื่อที่ว่าการลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และจะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยง "ผีมดผีเม็ง" ที่จัดขึ้นครั้งเดียวในหนึ่งปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสม ก่อนวันเข้าพรรษา จะทำพิธีอัญเชิญผีเม็งมาลง เพื่อขอใช้ช่วยปกปักษ์รักษา คุ้มครองชาวบ้านที่เจ็บป่วย และจัดหาดนตรีเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
อย่างไรก็ตาม คนล้านนามีความเชื่อในการเลี้ยงผีเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ แม้ว่าการดำเนินชีวิตของจะราบรื่นไม่ประสบปัญหาใด แต่ก็ยังไม่ลืมบรรพบุรุษที่เคยช่วยเหลือให้มีชีวิตที่ปกติสุขมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ยังคงพบเรือน เล็กๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้านเสมอ หรือเรียกว่า "หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน" เมื่อเวลาเดินทางไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบท ความเชื่อดังกล่าวจึงส่งผลให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวเหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ย-แม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย แม้ปัจจุบันในเขตตัวเมืองของภาคเหนือจะมีการนับถือผีที่อาจเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่


อาชีพของประชากร

อาชีพที่สำคัญของประชากรในภาคเหนือจำแนกได้ดังนี้1.การเพาะปลูก พืชที่สำคัญได้แก่ ข้าว ซึ่งนิยมปลูกทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า มีผลผลิตต่อเนื้อที่สูงกว่าภาคอื่นๆเนื่องจากดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการจัดชลประทานที่ดีจึงทำให้สามารถทำนาได้ถึงปีละ2ครั้ง นอกจากนี้พืชเศรษฐกิจอื่นๆอีกเช่น ข้าวโพด อ้อย ลิ้นจี่ ลำไย และปัจจุบันนี้พืชผักและผลไม้เมืองหนาวก็นิยมปลูกกันบริเวณที่สูง
2.การเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่ กระบือและโค นิยมเลี้ยงในเขตที่ราบเพื่อใช้แรงงาน แต่ปัจจุบันได้มาการนำรถยนต์เข้ามาใช้แทนแรงงานสัตว์พวกนี้จึงทำให้จำนวนสัตว์เลี้ยงลดลงไปมาก
3.การทำป่าไม้ ภาคเหนือมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จึงมีการแปรรูปไม้ การแกะสลัก การทำเยื่อกระดาษ และการทำไม้อัด แต่หลังจากที่มีการออกกฏหมายควบคุบการแปรรูปไม้พ.ศ.2532 ทำให้การทำป่าไม้ในภาคเหนือลดลงไปมาก
4.การประมงน้ำจืด ส่วนใหญ่เป็นการจับปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติเช่น แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน บึง หนองน้ำ แต่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคเหนือมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆจึงนับว่ายังน้อย
5.การทำเหมืองแร่ เนื่องจากมีโครงสร้างทางธรณีสัณฐาณเป็นทิวเขาหินเก่า จึงมีทรัพยากรแร่อยู่หลายชนิด และมีการเปิดเหมืองนำแร่เหล่านั้นมาใช้บ้างแล้วเช่น แร่ดีบุกที่เชียงใหม่ ถ่านหินที่ลำปาง เป็นต้น
6.อุตสาหกรรม มีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวที่มีชื่อเสียงมาช้านาน ได้แก่ การทอผ้า การทำร่ม การทำเครื่องจักรสาน ฯลฯ และในปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการแปรรูปเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมลำไย ลิ้นจี่กระป๋อง กระเทียมดอง เป็นต้น
7.การค้าและการบริการ นอกจากการค้าภายในภูมิภาคและภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะบริเวณชายแดน สินค้าที่ขายให้ประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ผงชูรส สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะและอะไหล่ สินค้าที่ไทยซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แ่ก่ อัญมณี ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โค และกระบือ


ที่มา:http://noojammi.blogspot.com/

การปกครองส่วนภูมิภาค


อำเภอเชียงของแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 117 หมู่บ้าน

1. เวียง (Wiang) 14 หมู่บ้าน
2. สถาน (Sathan) 16 หมู่บ้าน
3. ครึ่ง (Khrueng) 11 หมู่บ้าน
4. บุญเรือง (Bun Rueang) 10 หมู่บ้าน
5. ห้วยซ้อ (Huai So) 23 หมู่บ้าน
6. ศรีดอนชัย (Si Don Chai) 18 หมู่บ้าน
7. ริมโขง (Rim Khong) 11 หมู่บ้าน


ที่มา:http://chiangkhong.sadoodta.com/content/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%
E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8
%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%
E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8
%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87





สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเชียงของ


1.หาดจับปลาบึก
อยู่ที่บ้านหาดไคร้ หมู่ที่ 12 ต.เวียง ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของ จังหวัด โดยมีฤดูการจับอยู่ในระหว่างกลาง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ในแต่ละปีมีการผสมพันธุ์ปลาบึก ที่สถานประมงเชียงของเพื่อนำพันธุ์ปลาบึกที่ผสมได้ แจกจ่ายปล่อยตามแหล่งน้ำสาธารณะต่าง ๆ ทั่วประเทศ


2.ท่าเรือบั๊ค


จุดผ่านแดนไทย-ลาว ริมฝั่งแม่น้ำโขง มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวได้ชัดเจน และสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. ติดต่อกรอกแบบฟอร์มขอผ่านแดนได้ที่ศูนย์อำนวนการรักษาความมั่นคงภายใน ในบริเวณที่ว่าการอ.เชียงของได้ทุกวัน เตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป และสำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 10 บาท นอกจากน้ำแล้วในช่วงฤดุร้อน ระหว่างเดือนเมษายนจะมีการจัดงานรื่นเริงและร้าน


3.วัดพระแก้ว เชียงของ

วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 13 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นอีกวัดหนี่งในเชียงของที่ตั้งอยู่กลางเมือง ตั้งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 400 เมตร บนถนนสายหลักเชียงของ-เชียงแสน (ติดกับที่ทำการไปรษณีย์) ทางเข้าวัดจะติดถนนสายหลักแต่อีกด้านหนึ่งจะติดแม่น้ำโขง ดังนั้นบริเวณวัดจึงสามารถมองเห็นวิวน้ำโขงสวยงามมาก รวมทั้งมองเห็นฝั่งลาวได้ชัดเจนอีกด้วย ภายในวัดมีพระพุทธรูปเก่าแก่มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่ทำจากหินน้ำโขงที่งดงามมาก บริเวณด้านติดแม่น้ำโขงมีม้านั่งหินอ่อนให้ท่านนั่งชมทัศนียภาพน้ำโขงและฝั่งลาวตลอดแนววัด



ที่มา:http://place.thai-tour.com/chiangrai/chiangkhong




ศิลปะวัฒนธรรม และประเพณีของอำเภอเชียงของ

ศิลปะวัฒนธรรม และประเพณีของอำเภอเชียงของ
จากตัวอำเภอเชียงของมุ่งหน้าไปทาง อ.เชียงแสน ประมาณ 13 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งของสวนป่าห้วยทรายมาน มีจุดชมวิว 2 ฝั่งของระหว่างไทย - ลาวได้พื้นที่ติดน้ำโขงบริเวณตัวอำเภอเชียงของจะมีการสร้างถนนเรียบน้ำโขงเริ่มตั้งแต่บ้านหาดไคร้ไปถึงบ้านหัวเวียงนักท่องเที่ยวสามารถแวะชมบรรยากาศริมโขงได้ ท่าจับปลาบึกทุกวันที่ 17-19 เมษายน บริเวณท่าจับปลาบึก (ลานหน้าวัดหาดไคร้) จะมีการบวงสรวงและจับปลาบึกซึ่งหาดูได้ที่เดียวในโลก ปัจจุบันการล่าปลาบึกจะล่าได้ปีละครั้งในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ปลาบึก การล่าจึงทำเพื่อเป็นการสืบทอดการล่าปลาบึกให้คงอยู่ตามประเพณีของชาวบ้านหาดไคร้ และช่วงสงกรานต์บริเวณท่าปลาบึก(ลานหน้าวัดหาดไคร้)และท่าเรือบั๊กจะจัดงานมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มีมากมาย เช่น กล้วยอบเนยศรีลานนา ผ้าทอศรีดอนชัยที่มีการสืบทอดมาแต่โบราณจากบรรพบุรุษของชนชาวไตลื้อสามารถแวะชมได้ที่และศูนย์ผ้าทอไทลื้อตำบลศรีดอนชัย และสินค้าหัตถกรรมบ้านสถาน ศูนย์หัตถกรรมบ้านสถาน

ในทุกปีช่วงเดือนเมษายน บริเวณแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของชาวบ้านจะลงไปเก็บไก (สาหร่ายน้ำจืดที่เกิดในแม่น้ำโขง เป็นชื่อเรียกของคนในพื้นที่) โดยจะนำมาตากแห้งบนคา (ชนิดเดียวกับที่ใช้มุงหลังคา) โดยอาจจะมีใส่เครื่องปรุงเช่น งา ข่า ตะไคร้ ต่าง ๆ ลงไป สามารถนำมาทอดกิน รสชาติหวาน กรอบ ปัจจุบันนำมาจัดเป็นสินค้าโอทอป


ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87

ที่มา:https://brongmook.wordpress.com/

อาหารพื้นเมืองของอำเภอเชียงของ

คั่วจิ้นหมูแห้งคั่วจิ้นหมูแห้ง เมนูง่ายๆ สำหรับวันนี้ “คั่วจิ้นหมูแห้ง” จิ้นแห้ง หมายถึง เนื้อแห้ง หรือเนื้อย่าง นิยมใช้เนื้อวัว รับประทานกับข้าวเหนียว และน้ำพริกตาแดง โดยการทุบให้เนื้อพอแตก แล้วนำมาทอด ตำยำ หรือนำไปปรุงอาหารได้ แต่ในวันนี้เราเลือกใช้ “จิ้นหมูแห้ง” ทางเหนือ นอกจาก จิ้นแห้งที่เป็นเนื้อวัว หรือควาย แล้ว ก็มี หมูด้วย ที่บ้านเราชอบเนื้อหมูแห้งมากกว่า เพราะไม่เหนียว ผู้สูงอายุรับประทานได้ง่าย




ละมุดอินเดีย  
ละมุดอินเดีย หรือเซียนท้อ ต้นไม้ชนิดนี้มี่ชื่อเรียกหลากหลายมาก “ละมุดอินเดีย” , “ละมุดเขมร”, “ม่อนไข่”, “เซียนท้อ หรือเซียมท้อ” , “หมากป่วน”, “หม่าปิน” เป็นต้น ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ผลยืนต้น เป็นพุ่มแจ้ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ต้นที่พบมีความสูงประมาณ 5 เมตร
รสชาติของผล เนื้อในของผลมีสีเหลือง รสมันอมหวานเล็กน้อย เนื้อเหลืองเนียนเหมือนฟักทอง ต้องกินตอนสุกๆ หากไม่สุกจะมีรสฝาด
ประโยชน์ คุณค่าทางอาหาร
มีวิตามิน เอ มีไนอะซิน (กลุ่มวิตามินบี บำรุง ผิว ได้ สมองได้ ปลายประสาทได้) และเบต้าแคโรทีน มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุง ทั้งสายตา และสมอง
มีวิตามินซีที่ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

ผำ เคยกินกันไหม ?
“ผำ” มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น ไข่ผำ (ทางภาคอีสาน), ไข่แหน, ผำ (ทางภาคเหนือ), ไข่น้ำ (ทางภาคกลาง) “ผำ” เป็นพืชน้ำคล้ายๆ แหนต้นเล็กๆ หรือเรียกว่า “ไข่แหน” รูปร่างเป็นเม็ดกลมๆ มีสีเขียวลอยอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นแพ มักเกิดในธรรมชาติที่น้ำใส นิ่ง เช่นบึง หนองน้ำ เป็นต้น ผำจะพบมากในฤดูฝน เป็นพืชดอกที่มีต้นเล็กที่สุดในโลก ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง จะพบวางขายกันมากมาย นำไปทำอาหารได้หลายอย่าง ผำ เป็นพืชดอกที่มีต้นเล็กที่สุด หรือเป็นผักที่ต้นเล็กที่สุด
ประโยชน์ของผำ
มีแคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูงมาก คนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร (ผำหรือไข่แหนมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร จึงต้องนำผำหรือไข่แหนมาทำให้สุกก่อนรับประทาน)ผำมีรสมัน ผำ 100 กรัม ให้พลังงาน ต่อร่างกาย 8 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.3 กรัม แคลาเซียม 59 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5346 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 11 มิลลิกรัม
ที่มา:http://www.chiangraiholiday.com/%E2%80%9C%E0%B8%9C%E0%B8%B3%E2%80%9D%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1.html


ข้อมูลส่วนตัวผู้สร้างบล๊อค

ดิฉัน นางสาวสณัชชา อุบลศรี  ชื่อเล่น เนย  อายุ 18 ปี
กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ